วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558


การศึกษาเบื้องต้นระบบการจัดการทรงพุ่ม 4 แบบ ต่อการเจริญทางกิ่งใบ
การออกดอกและผลผลิตของลำไยพันธุ์อีดอ
Preliminary Study of Four Training Systems on Vegetative Growth,
Flowering and Yield of Longan (Dimocarpus longan Lour.) cv. E-Dor

พาวิน มะโนชัย1 วรินทร์ สุทนต์2  จำนงค์ ศรีจันทร์1  จิรนันท์ เสนานาญ1  นพดล จรัสสัมฤทธิ์1  
เสกสันต์ อุสสหตานนท์1  และสมชาย องค์ประเสริฐ3


บทคัดย่อ


            จากการทดลองตัดแต่งต้นลำไย 4 รูปทรง คือทรงมาตรฐาน (ทรงครึ่งวงกลม) ทรงสี่เหลี่ยม ทรงเปิดกลางทรงพุ่ม และทรงแบน (ทรงฝาชีหงายพบว่าการตัดแต่งกิ่งทรงฝาชีหงายและทรงสี่เหลี่ยมมีผลกระตุ้น   การแตกใบอ่อนได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังมีปริมาณกิ่งกระโดงสะสมที่มากกว่าทรงครึ่งวงกลมและทรงเปิดกลางทรงพุ่ม ทุกรูปทรงที่ตัดแต่งมีการออกดอก ติดผล และน้ำหนักผลผลิตต่อต้นไม่แตกต่างกัน แต่การตัดแต่งทรงฝาชีหงายทำให้ได้สัดส่วนของผลผลิตขนาดใหญ่มากกว่าการตัดแต่งรูปทรงอื่น ๆ อย่างเด่นชัด จนทำให้ได้ราคาเฉลี่ยสูงที่สุดและได้กำไรมากที่สุด รองลงมาคือทรงสี่เหลี่ยม ส่วนการตัดแต่งทรงมาตรฐานนั้นไม่ได้ผลผลิตขนาดใหญ่ เหตุผลที่การตัดแต่งทรงฝาชีหงายและทรงสี่เหลี่ยมทำให้ได้ผลผลิตดีดังกล่าว น่าจะอยู่ที่การแตกกิ่งกระโดงและกิ่งใหม่ที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ของการตัดแต่งทรงฝาชีหงายและสี่เหลี่ยม
           

Abstract


The experiment on pruning with 4 shapes, i.e., standard shape (half-sphere shape),cubic shape, opened-center shape and flat shape, had revealed that the flat and cubic shapes were best in stimulating leaf flushing and more water sprout. Flowering, fruit setting and yield of all pruning shape were statistical equal. However, the flat shape resulted in obviously highest ratio of class A fruits. Consequently, the average fruit price and profit from the production of the flat shape were highest. The cubic shape was the runner-up. None of the yield of the standard shape was class A fruits. Therefore, almost no profit was obtained from the production of the shape.  Reasons for the best performance of the flat shape and cubic shape were the putting out of new big and healthy branches.
 

[1] ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 50290
2 ฝ่ายขยายพันธุ์พืชและสัตว์ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 50290
3 ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 50290

คำนำ


ในปัจจุบันสวนลำไยหลายๆ  แห่ง  โดยเฉพาะในแหล่งที่มีการปลูกลำไยมาแต่ดั้งเดิมของจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน สภาพของสวนมีต้นลำไยทรงพุ่มสูงใหญ่ เนื่องจากต้นลำไยดังกล่าวมีอายุมากประกอบกับวิธีการในการตัดแต่งกิ่งของเกษตรกรมักจะตัดกิ่งที่อยู่ด้านล่างออกหมด ทำให้สูญเสียพื้นที่ออกผล (fruiting area) ที่อยู่ทางด้านข้าง และยังทำให้ต้นลำไยเจริญทางด้านส่วนสูงเพิ่มขึ้นทุกปี (พาวิน และคณะ,2547) ทำให้ไม่สะดวกต่อการดูแลรักษาและยังเสียค่าใช้จ่ายในการค้ำยันกิ่งสูง การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะต้องใช้แรงงานที่มีทักษะและความชำนาญ  นอกจากนี้ต้นที่มีทรงพุ่มสูงใหญ่ยังตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตได้ไม่ดี เกษตรกรต้องเพิ่มปริมาณสารทุกปี จึงส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูงในทุกๆ ด้าน การตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มให้เตี้ยน่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้แต่คงต้องศึกษาถึงรูปทรงที่เหมาะสมของการตัดแต่งกิ่ง

อุปกรณ์และวิธีการ


ต้นลำไยที่ใช้ในการทดลองเป็นลำไยที่ปลูกในระยะชิด ระยะปลูก 6x6 เมตร อายุประมาณ 7 ปี  มีความสูงประมาณ 2.8 เมตร ความกว้างทรงพุ่มประมาณ 3 - 4 เมตร วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์มี 10 ซ้ำๆ ละ 1 ต้น ประกอบด้วย 4  treatment คือ
            treatment 1  ตัดแต่งทรงครึ่งวงกลมโดยตัดแต่งเฉพาะกิ่งในทรงพุ่มออก
treatment 2  ตัดแต่งทรงสี่เหลี่ยมโดยตัดแต่งให้มีความสูงไม่เกิน 1.75 เมตร ทรงพุ่มกว้าง 3 เมตร
            treatment 3  ทรงเปิดกลางพุ่ม (open center) ตัดกิ่งที่อยู่กลางทรงพุ่มออกประมาณ 2 - 3 กิ่ง
            treatment 4 ทรงแบน  หรือทรงฝาชีหงาย  ตัดกิ่งกลางทรงพุ่ม  และกิ่งหลักที่ทำมุมกับระดับพื้นดินเกิน 45 องศา ออกจนเหลือทรงพุ่มเพียงชั้นเดียว (ภาพที่ 1) ทำการตัดแต่งในเดือนกันยายน 2546 และสุ่มยอดรอบทรงพุ่มจำนวน 50 ยอด บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ หลังตัดแต่งกิ่งได้ประมาณ 8 เดือน จึงราดสารคลอเรต อัตรา 10 กรัมต่อตารางเมตร บันทึกผลการออกดอก  ติดผล ปริมาณและคุณภาพผลผลิต ต้นทุนและผลตอบแทน









ผลการทดลอง
LEAD Technologies Inc. V1.01

ภาพที่ 1 รูปแบบการตัดแต่งกิ่งลำไย 4 รูปทรง

การเจริญเติบโตทางกิ่งใบ
       จากตารางที่ 1 และ 2 จะเห็นได้ว่าต้นลำไยที่ตัดแต่งรูปทรงฝาชีหงายและทรงสี่เหลี่ยมมีการแตกใบได้เร็วกว่าทรงเปิดกลางพุ่มและทรงครึ่งวงกลมโดยใช้เวลาเพียง 3 สัปดาห์ หลังตัดแต่งกิ่งสามารถกระตุ้นการแตกใบได้ 65–73% นอกจากนี้ยังพบว่าการเกิดกิ่งกระโดงเกิดขึ้นมากในต้นที่ตัดรูปทรงแบน และทรงสี่เหลี่ยมอย่างเห็นได้ชัด

การออกดอกและติดผล
            พบว่าการตัดแต่งกิ่งทั้งสี่รูปทรงตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตได้ไม่แตกต่างกัน แต่ทรงสี่เหลี่ยมมีความยาวของช่อดอกมากที่สุด ส่วนการติดผลพบว่าทรงเปิดกลางพุ่มมีจำนวนผลต่อช่อน้อยที่สุด (ตารางที่ 3)

ตารางที่ 1  การแตกใบอ่อนชุดที่ 1 และจำนวนกิ่งกระโดงของต้นลำไยที่ตัดแต่งกิ่ง 4 รูปทรง
รูปทรงการตัดแต่ง
2 สัปดาห์

3 สัปดาห์

4 สัปดาห์
5 สัปดาห์
จำนวนกิ่งกระโดง
ทรงครึ่งวงกลม
8.0b
36.3b
91.0
98.7
6.2b
ทรงเปิดกลางพุ่ม
23.0ab
40.3b
92.7
97.7
6.7b
ทรงสี่เหลี่ยม
26.0ab
  63.7ab
94.0
98.0
     125.7a
ทรงฝาชีหงาย
     42.7a
75.0a
92.3
97.7
97.5a
Significant
**
**
ns
ns
*
หมายเหตุค่าเฉลี่ย(Mean) ใน Column เดียวกัน ตัวอักษรเหมือนกัน ไม่แตกต่างกันทางสถิติเปรียบเทียบโดยใช้วิธี
    Duncan’s Multiple Range Test (DMRT)
    ns     =  ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
                 *      =  แตกต่างที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
                 **     =  แตกต่างที่ระดับความเชื่อมั่น 99%


ตารางที่ 2   การแตกใบอ่อนชุดที่ 2 ของต้นลำไยที่ตัดแต่งกิ่ง  4 รูปทรง
รูปทรงการตัดแต่ง

สัปดาห์หลังการตัดแต่งกิ่ง

9
11
13
15
19
21
ทรงครึ่งวงกลม
0.0b
  0.0b
  3.7c
44.0b
79.3
80.0
ทรงเปิดกลางพุ่ม
0.0b
  1.7b
  1.7c
38.3b
73.7
82.0
ทรงสี่เหลี่ยม
0.7b
  4.0b
34.3b
65.0a
85.3
86.0
ทรงฝาชีหงาย
4.3a
25.3a
72.3a
96.0a
98.7
99.0
Significant
**
**
**
*
ns
ns


ตารางที่ 3  การออกดอก ขนาดความกว้าง ยาวของช่อดอกและจำนวนผลต่อช่อของต้นลำไยที่ตัดแต่งกิ่ง
                  4 รูปทรง
รูปทรงการตัดแต่ง
การออกดอก (%)
ความกว้างช่อดอก (ซม.)
ความยาวช่อดอก (ซม.)
จำนวนผล/ช่อ
ทรงครึ่งวงกลม
98.20
52.67
  70.66ab
89.99a
ทรงเปิดกลางพุ่ม
98.20
50.67
66.85b
68.41b
ทรงสี่เหลี่ยม
96.80
54.26
74.25a
94.62a
ทรงฝาชีหงาย
98.20
51.78
67.64b
87.75a
Significant
ns
ns
*
**

ปริมาณและคุณภาพผลผลิต
            การตัดแต่งกิ่งทั้ง 4 รูปทรงให้น้ำหนักผลผลิตต่อต้นไม่แตกต่างกันแต่มีแนวโน้มว่าทรงสี่เหลี่ยมจะให้ผลผลิตต่อต้นสูง ในขณะที่ทรงฝาชีหงายให้น้ำหนักผลเฉลี่ยมากกว่าทรงอื่นๆ จึงส่งผลทำให้จำนวนผลต่อกิโลกรัมน้อยที่สุด คือ 102 ผลต่อกิโลกรัม (ตารางที่ 4) นอกจากนี้ทรงฝาชีหงายยังมีขนาดผลใหญ่ที่สุด ส่วนทรงครึ่งวงกลมมีขนาดผลน้อยที่สุด (ข้อมูลไม่ได้นำมาแสดง) ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำและสีผิวของลำไย  ทั้ง 4 รูปทรง ไม่แตกต่างกัน (ตารางที่ 5) ส่วนเกรดผลที่ได้พบว่าการตัดแต่งกิ่งทรงฝาชีหงายให้เกรดผลใหญ่ (เบอร์ 3) มากถึง 62.7% ของผลผลิตทั้งหมดรองลงมา คือ ทรงสี่เหลี่ยม (32.2%) และทรงเปิดกลางทรงพุ่ม (11.7%) ในขณะที่ทรงครึ่งวงกลมไม่ได้เกรดผลขนาดใหญ่โดยได้เกรดผลขนาดเล็กมากถึง 85.4% ส่วนผลร่วงและผลแตกของทุกรูปทรงไม่แตกต่างกัน (ตารางที่ 6)
            ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้และสีผิว พบได้จากการตัดแต่งทรงพุ่มทั้ง 4 ทรงไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติทั้งปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้และสีผิว

ตารางที่ 4   ผลผลิตต่อต้นน้ำหนักผลสดและจำนวนผลต่อกิโลกรัมของต้นลำไยที่ตัดแต่งกิ่ง 4 รูปทรง
รูปทรงการตัดแต่ง
น้ำหนักผลผลิต
(กก./ต้น)
จำนวนผล/กก.
น้ำหนักผลสด
(กรัม)
ทรงครึ่งวงกลม
55.4
146a
6.92b
ทรงเปิดกลางพุ่ม
59.8
123a
7.76b
ทรงสี่เหลี่ยม
73.2
134a
7.76b
ทรงฝาชีหงาย
51.1
102b
9.87a
Significant
ns
**
**


ตารางที่ 5  ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำและสีผิวของผลลำไยที่ตัดแต่งกิ่ง 4 รูปทรง
รูปทรงการตัดแต่ง
ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (Brix)
สีผิว
ความสว่าง (L)
สีเขียว (a)
สีเหลือง (b)
ทรงครึ่งวงกลม
23.08
42.78
11.43
31.95
ทรงเปิดกลางพุ่ม
23.63
43.03
10.55
32.68
ทรงสี่เหลี่ยม
23.47
41.56
13.61
31.80
ทรงฝาชีหงาย
22.66
42.64
  9.96
31.31
Significant
ns
ns
ns
ns




ตารางที่ 6  เปอร์เซ็นต์เกรดผล  ผลร่วงและผลแตกของตัดแต่งกิ่ง 4 รูปทรง
รูปทรงการตัดแต่ง
ผลผลิตแบ่งตามเกรด(%)

เกรดใหญ่

เกรดเล็ก
ผลร่วง
ผลแตก
ทรงครึ่งวงกลม
 0.0b
85.4a
 7.6
7.0
ทรงเปิดกลางพุ่ม
 11.7ab
  70.7ab
11.1
6.4
ทรงสี่เหลี่ยม
 32.3ab
  53.4ab
12.2
2.2
ทรงฝาชีหงาย
62.7a
27.5b
  7.9
2.0
Significant
**
*
ns
ns

ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน
       ต้นทุนที่เกิดจากค่าใช้จ่ายด้านปัจจัยการผลิตได้แก่ การตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสารโพแทสเซียมคลอเรตพบว่ารูปทรงสี่เหลี่ยมมีค่าใช้จ่ายสูงสุด รองลงมาคือทรงเปิดกลางพุ่ม ทรงฝาชีหงาย และทรงครึ่งวงกลม โดยมีค่าใช้จ่ายเท่ากับ 211.1, 209.6, 205.5 และ 203.8 บาทต่อต้น ตามลำดับ ส่วนค่าใช้จ่ายด้านแรงการเก็บเกี่ยวผลผลิตพบว่าทรงสี่เหลี่ยมมีต้นทุนการผลิตมากที่สุด รองลงมาคือทรงเปิดกลางพุ่มและทรงฝาชีหงาย ส่วนทรงครึ่งวงกลมมีต้นทุนการผลิตต่ำสุด แต่เมื่อคิดต้นทุนต่อกิโลกรัมพบว่าทรงสี่เหลี่ยมมีต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมน้อยกว่าทรงอื่นๆ คือ มีค่าใช้จ่าย 4.8 บาทต่อกิโลกรัม  (ตารางที่ 7)
รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตในตารางที่ 8 พบว่ารายได้จากการจำหน่ายผลเกรดใหญ่ของต้นลำไยที่ตัดแต่ง ทรงฝาชีหงายมากที่สุดรองลงมาคือทรงสี่เหลี่ยมและทรงเปิดกลางพุ่ม ส่วนรายได้จากการจำหน่ายผลเล็กได้จากทรงครึ่งวงกลมมากที่สุด รองลงมาคือทรงเปิดกลางพุ่มและทรงเปิดกลางพุ่ม ส่วนรายได้จากการจำหน่ายผลร่วงไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (ตารางที่ 8) รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทั้งหมดมารวมกันพบว่าต้นลำไยที่ตัดแต่งกิ่งทรงแบนมีรายได้มากที่สุดรองลงมาคือทรงสี่เหลี่ยม ทรงเปิดกลางพุ่ม และทรงครึ่งวงกลม เมื่อนำมาคิดกำไรสุทธิพบว่าการตัดแต่งกิ่งทรงฝาชีหงายให้กำไรสุทธิสูงสุด รองลงมาคือทรงสี่เหลี่ยม ทรงเปิดกลางพุ่มและทรงครึ่งวงกลมโดยมีกำไรสุทธิเท่ากับ 872.5, 713.1, 193.5 และ 3.4 บาทต่อต้น ตามลำดับ (ตารางที่ 8)

ตารางที่ 7 ต้นทุนการผลิตลำไยของต้นลำไยที่ตัดแต่งกิ่ง 4 รูปทรง

รูปทรงการตัดแต่ง

ต้นทุนการผลิต (บาท)
รวมต้นทุน
ทั้งหมด (บาท)
ค่าเฉลี่ยต้นทุนบาท/กิโลกรัม
ปัจจัยการผลิต
ค่าแรงเก็บเกี่ยว
ทรงครึ่งวงกลม
203.8c
  89.30
293.1b
5.29
ทรงเปิดกลางพุ่ม
  209.6ab
109.12
  318.7ab
5.33
ทรงสี่เหลี่ยม
211.1a
139.90
351.0a
4.80
ทรงฝาชีหงาย
  205.5bc
105.96
  311.5ab
6.10
Significant
**
ns
*
-
ตารางที่ 8    รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตของต้นลำไยที่ตัดแต่งกิ่ง 4 รูปทรง โดยแยกตามขนาดผล
รูปทรงการตัดแต่ง
รายได้ของผลผลิตแบ่งตามเกรด(บาท/ต้น)
รวมทั้งหมด(บาท/ต้น)
กำไรสุทธิ (บาท/ต้น)

ผลเกรดใหญ่

ผลเกรดเล็ก
ผลเบอร์ร่วง
ทรงครึ่งวงกลม
  0.0b
    283.8a
12.7
296.5b
   3.4
ทรงเปิดกลางพุ่ม
 238.6ab
253.7ab
19.9
  512.2ab
193.5
ทรงสี่เหลี่ยม
 803.0ab
214.2ab
26.7
1064.1ab
713.1
ทรงฝาชีหงาย
     1088.0a
84.2b
12.1
  1184.3a
872.5
Significant
**
*
ns
**
-

  หมายเหตุ :  ผลเกรดใหญ่กิโลกรัมละ 34 บาท     ผลเกรดเล็กกิโลกรัมละ 6 บาท     ผลร่วงกิโลกรัมละ 3 บาท



วิจารณ์และสรุปผลการทดลอง


       การศึกษาการตัดแต่งกิ่งลำไย 4 รูปทรง พบว่ารูปทรงฝาชีหงายและทรงสี่เหลี่ยมมีผลต่อความเร็วของการแตกใบอ่อน   ดังจะเห็นได้จากตารางที่ 1 และ 2 ทั้งนี้อาจเกิดจากการตัดแต่งทั้งสองรูปทรงนี้ตัดแต่งกิ่งออกในปริมาณที่มาก นอกจากนี้ทรงสี่เหลี่ยมยังตัดปลายกิ่งทั้งด้านข้างและด้านบน ซึ่งช่วยลดปรากฏการณ์ตายอดข่มตาข้าง (apical dominance) จึงส่งผลต่อการแตกใบอ่อนได้เร็วขึ้น สอดคล้องกับการศึกษาของ พาวิน และคณะ (2545) ทั้งนี้เพราะปรากฏการณ์ตายอดข่มตาข้างนั้นเกิดจากฮอร์โมนออกซินที่สร้างที่ยอดและถูกส่งมาส่วนล่างและควบคุมการแตกตาข้าง การตัดแต่งกิ่งจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมดุลของฮอร์โมน (Westwood, 1993) การแตกใบอ่อนชุดที่ 2 พบว่าทรงแบนและทรงสี่เหลี่ยมแตกใบอ่อนชุดที่ 2 ได้เร็วกว่าทรงครึ่งวงกลมและทรงเปิดกลางยอด เนื่องจากทั้งสองทรงมีการแตกใบอ่อนชุดที่ 1 เร็วจึงส่งผลทำให้การแตกใบอ่อนชุดที่ 2 ได้เร็วขึ้น ส่วนการตอบสนองของลำไยที่ตัดแต่งกิ่งทั้ง 4 รูปทรงต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะระยะการเจริญทางกิ่งใบของแต่ละรูปทรง ณ เวลาที่ให้สารไม่แตกต่างกัน คือ มีใบแก่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้อัตราของสารที่ให้ครั้งนี้ใช้ปริมาณถึง 2 เท่า ของอัตราที่เคยรายงานว่าสามารถชักนำการออกดอกได้เลย (พาวิน และคณะ, 2542) จึงสามารถชักนำการออกดอกเกือบทุกยอด

การตัดแต่งกิ่งทุกรูปทรงให้ผลผลิตกิโลกรัมต่อต้นไม่แตกต่างกัน แต่มีแนวโน้มว่าทรงสี่เหลี่ยมให้ผล ผลิตมากทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากจำนวนผลต่อช่อมากกว่าทรงอื่นๆ (ตารางที่3) อย่างไรก็ตามคุณภาพผลผลิตของทรงแบนให้คุณภาพดีโดยมีน้ำหนักผลเฉลี่ยมากกว่าทรงอื่นๆ ทั้งนี้อาจเกิดจากผลผลิตส่วนหนึ่งเกิดจากกิ่งกระโดงที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีจำนวนกิ่งต่อต้นน้อยถึงแม้ติดผลดกแต่ก็มีผลขนาดใหญ่ทำให้เกรดผลใหญ่มากถึง 63% คือมีจำนวนผลอยู่ในช่วง 101–111 ผลต่อกิโลกรัม (กรมวิชาการเกษตร, 2542) แสดงให้เห็นว่ารูปทรงของการตัดแต่งกิ่งมีผลต่อคุณภาพของลำไยอย่างเห็นได้ชัด ในด้านต้นทุนการผลิต พบว่า ต้นทุนการผลิตของทรงสี่เหลี่ยมต่อต้นสูงสุด แต่เมื่อคิดต่อกิโลกรัมกลับน้อยกว่าทรงอื่น กำไรสุทธิที่ได้ พบว่าทรงสี่เหลี่ยมและทรงฝาชีหงายให้รายได้ต่อต้นสูง ทั้งนี้เพราะผลผลิตที่ได้มีคุณภาพทำให้จำหน่ายได้ในราคาที่สูงกว่าต้นที่มีผลขนาดเล็กมากถึง 5.7 เท่า

เอกสารอ้างอิง


กรมวิชาการเกษตร.2542.มาตรฐานลำไยของประเทศไทย.เอกสารเผยแพร่ ศ... อันดับ 2 ศูนย์ผลักดันสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 9 น.
พาวิน มะโนชัย  วรินทร์ สุทนต์  วินัย วิริยะอลงกรณ์  นพดล จรัสสัมฤทธิ์  และเสกสันต์ อุสสหตานนท์. 2542. ระยะการพัฒนาของใบกับการกระตุ้นการออกดอกของลำไยโดยใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต. ใน รายงานสัมมนาฮอร์โมนพืชเพื่อการผลิตไม้ผลนอกฤดู. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. น. 9-14.
พาวิน มะโนชัย  วรินทร์ สุทนต์  วินัย วิริยะอลงกรณ์  เสกสันต์ อุสสหตานนท์  และนพดล จรัสสัมฤทธิ์. 2545. การยับยั้งการออกดอกของลำไยในฤดูกาลโดยวิธีการตัดปลายกิ่ง. การประชุมวิชาการ     พืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 2  ณ โรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส, ขอนแก่น.
พาวิน มะโนชัย  วรินทร์ สุทนต์  สุรชัย ศาลิรัศ  จิรนันท์ เสนานาญ  จำนง ศรีจันทร์  และเสกสันต์ อุสสหตานนท์. 2547. การตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มลำไย : ทรงฝาชีหงาย. ใน การนำผลงานวิจัยไม้ผลสู่การปฏิบัติเชิงพาณิชย์. สาขาไม้ผล ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. น. 9-21.
Westwood, M.N.1993. Temperate Zone Pomology Physiology and Culture: Third Edition. Timber press, Inc. 523 pp.

ที่มา ;http://www.google.co.th/url?q=http://www.mju.ac.th/jobs_news/reserch-meeting/2005/%25B5%25D1%25C7%25CD%25C2%25E8%25D2%25A7%25E0%25C3%25D7%25E8%25CD%25A7%25E0%25B5%25E7%25C1.doc&sa=U&ei=Ewa9VLiHKYf88QWFq4DYCw&ved=0CCkQFjAE&sig2=r-pIKmHyKihoeY2E-XLLsA&usg=AFQjCNHxUKQSgmb8h7IbQOavwdx9uPTOCQ

1 ความคิดเห็น:

  1. Casinos Near Casinos Near Casinos in Las Vegas, NV - Mapyro
    Hotels near Casinos in Las Vegas, NV · 강원도 출장안마 Las 군산 출장샵 Vegas 계룡 출장마사지 Convention Center · Wynn Las Vegas · Caesars Palace · Royal Vegas · Royal Vegas · 시흥 출장샵 Wynn Macau 사천 출장마사지 · LINQ Promenade.

    ตอบลบ